ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศาสนา
ประวัติศาสตร์
จังหวัดชลบุรีเคยเป็นชุมชนโบราณที่เคยมีมนุษย์ยุคหินใหม่อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะว่าเคยมีการขุดค้นด้านโบราณคดีแล้วพบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำพานทองซึ่งอยู่ในบริเวณวัดโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม พบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์โคกพนมดี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าในอดีตพื้นที่บริเวณจังหวัดชลบุรีเคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีความรุ่งเรืองถึง 3 เมือง ได้แก่ เมืองพระรถ, เมืองศรีพโล และเมืองพญาแร่ โดยอาณาเขตของ 3 เมืองนี้รวมกันเป็นจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน
ซึ่งแหล่งโบราณคดีที่ค้นพบในครั้งนั้นได้พบสิ่งมีคุณค่าทางโบราณคดีหลายอย่าง เช่น ขวานหินขัด, เครื่องประดับจำพวกกำไล, ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผาแบบใช้เชือกทาบ และได้พบซากของอาหารทะเลอีกด้วย จึงทำให้ทราบว่าบริเวณนี้อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลมากกว่าปัจจุบันนี้มาก แหล่งโบราณคดีที่กล่าวอ้างทั้งหมดข้างต้นนั้นจึงเป็นหลักฐานยืนยันส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาอันแสนยาวนานของจังหวัดชลบุรี
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเมืองชลบุรีปรากฏเป็นหลักฐานในทำเนียบศักดินาหัวเมือง ตราเมื่อ พ.ศ. 1919 มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้รักษาเมืองคือ “ออกเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร” ศักดินา 2,400 ไร่ ส่งส่วยไม้แดง จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จยกทัพผ่านมาทางบริเวณจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน ก่อนที่จะเข้าตีเมืองจันทบุรี และยกทัพกลับไปกู้กรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีการจัดตั้งจังหวัดชลบุรีขึ้นเป็นทางการ บริเวณจังหวัดชลบุรี ประกอบไปด้วยเมืองใหญ่ 3 เมือง คือ เมืองบางปลาสร้อย, เมืองพนัสนิคม และเมืองบางละมุง
ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยหน่วยงานเดียว เมืองในจังหวัดชลบุรีจึงเข้าอยู่ในมณฑลปราจีนบุรี ดังมีบันทึกว่า
“รวมหัวเมืองทางลำน้ำบางปะกง คือ เมืองปราจีนบุรี 1, เมืองนครนายก 1, เมืองพนมสารคาม 1 และเมืองฉะเชิงเทรา 1 รวม 4 หัวเมือง เป็นเมืองมณฑล 1 เรียกว่า มณฑลปราจีน ตั้งที่ว่าการมณฑล ณ เมืองปราจีน ต่อเมื่อโอนหัวเมืองในกรมท่ามาขึ้นกระทรวงมหาดไทย จึงย้ายที่ทำการมณฑลลงมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา เพราะขยายอาณาเขตมณฑลต่อลงไปทางชายทะเล รวมเมืองพนัสนิคม, เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุง เพิ่มให้อีก 3 รวมเป็น 7 เมืองด้วยกัน แต่คงเรียกชื่อว่ามณฑลปราจีนอยู่ตามเดิม ”
ต่อมาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบ “เมือง” ทั่วราชอาณาจักร แล้วตั้งขึ้นเป็น “จังหวัด” แทน เมืองบางปลาสร้อย, เมืองพนัสนิคม และเมืองบางละมุง จึงรวมกันกลายเป็นจังหวัดชลบุรี โดยใช้บริเวณเมืองบางปลาสร้อยเดิมจัดตั้งเป็นอำเภอบางปลาสร้อย ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองชลบุรี ในปี พ.ศ. 2481
เมืองพนัสนิคมยุบเป็นอำเภอพนัสนิคมก่อนที่จะแยกออกเป็นอำเภอบ้านบึง, อำเภอหนองใหญ่, อำเภอพานทอง, อำเภอบ่อทอง และอำเภอเกาะจันทร์ เมืองบางละมุงยุบเป็นอำเภอบางละมุง ก่อนที่จะแยกออกเป็นอำเภอศรีราชา, อำเภอสัตหีบ และเปลี่ยนข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างในปัจจุบัน
หน่วยการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 92 ตำบล 687 หมู่บ้าน
- อำเภอเมืองชลบุรี
- อำเภอบ้านบึง
- อำเภอหนองใหญ่
- อำเภอบางละมุง
- อำเภอพานทอง
- อำเภอพนัสนิคม
|
- อำเภอศรีราชา
- อำเภอเกาะสีชัง
- อำเภอสัตหีบ
- อำเภอบ่อทอง
- อำเภอเกาะจันทร์
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
เทศบาลนคร
มีเทศบาลนคร 2 แห่ง คือ
- เทศบาลนครแหลมฉบัง
- เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์
เทศบาลเมือง
มีเทศบาลเมือง 10 แห่ง คือ
- เทศบาลเมืองชลบุรี
- เทศบาลเมืองบ้านสวน
- เทศบาลเมืองอ่างศิลา
- เทศบาลเมืองแสนสุข
- เทศบาลเมืองพนัสนิคม
- เทศบาลเมืองปรกฟ้า
- เทศบาลเมืองบ้านบึง
- เทศบาลเมืองศรีราชา
- เทศบาลเมืองหนองปรือ
- เทศบาลเมืองสัตหีบ
เขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ[แก้]
มีเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 แห่ง คือ
สถานศึกษา
มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาชลบุรี
- มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
- มหาวิทยาลัยเอเชียน
สถาบันและวิทยาลัย
- สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี
- วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
- วิทยาลัยมหาดไทย
- วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี
- วิทยาลัยเทคนิคพัทยา เดิมชื่อ (วิทยาลัยการอาชีพบางละมุง)
- วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค)
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี
- วิทยาลัยการอาชีพพนัสนิคม
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (วิทยาลัยการอาชีพพานทอง)
- วิทยาลัยสารพัดช่างชลบุรี
- วิทยาลัยดุสิตธานี ศูนย์เมืองพัทยา
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาศรีราชา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีดาราสมุทรบิหารธุรกิจ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีราชา
= โรงเรียน =อนุบาลวัดอู่ตะเภา
- โรงเรียนชุมพลทหารเรือ (นักเรียนจ่าทหารเรือ) อำเภอสัตหีบ
- โรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์ อำเภอศรีราชา
- โรงเรียนชลราษฎรอำรุง (ชลชาย) อำเภอเมือง
- โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา อำเภอศรีราชา
- โรงเรียนบ้านบึง"อุตสาหกรรมนุเคราะห์" อำเภอบ้านบึง
- โรงเรียนชลกันยานุกูล (ชลหญิง) อำเภอเมือง
- โรงเรียนชลบุรี "สุขบท" อำเภอเมือง
- โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) อำเภอเมือง
- โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร อำเภอบางละมุง
- โรงเรียนบางละมุง อำเภอบางละมุง
- โรงเรียนศรีราชา อำเภอศรีราชา
- โรงเรียนพนัสพิทยาคาร อำเภอพนัสนิคม
- โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี อำเภอบ้านบึง
- โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา อำเภอศรีราชา
- โรงเรียนสิงห์สมุทร อำเภอสัตหีบ
- โรงเรียนมารีวิทย์ สัตหีบ อำเภอสัตหีบ
- โรงเรียนเลิศปัญญา อำเภอสัตหีบ
- โรงเรียนตันตรารักษ์ อำเภอบางละมุง
- โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 อำเภอศรีราชา
- โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง - เช็ง พรประภา) อำเภอศรีราชา
- โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 อำเภอศรีราชา
- โรงเรียนวัดแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา
- โรงเรียนวัดดอนดำรงธรรม อำเภอเมือง
- โรงเรียนวัดท้องคุ้ง "ไพโรจน์ประชาสรรค์" อำเภอเมือง
- โรงเรียนเมรี่อิมมาคุเลตคอนแวนต์ อำเภอเมือง
- โรงเรียนศรีสุวิช อำเภอบางละมุง
|